พะยูง
ชื่อสามัญ Siamese Rosewood ชื่อวิทยาศาสตร์ Dalbergia
cochinchinensis Pierre วงศ์ LEGUMINOSAE ชื่ออื่น กระยง กระยูง (เขมร-สุรินทร์) ขะยูง (อุบลราชธานี) แดงจีน
(ปราจีนบุรี) ประดู่ตม (จันทบุรี) ประดู่ลาย (ชลบุรี) ประดู่เสน (ตราด) พะยูงไหม
(สระบุรี) หัวลีเมาะ (จีน)
เป็นไม้ยืนต้นผลัดใบ สูง 15-20 เมตร เปลือกสีเทาเรียบ เรือนยอดทรงกลมหรือรูปไข่ ใบเป็นใบประกอบแบบขนนกสองชั้นเรียงสลับ ปลายใบแหลม โคนใบสอบ หลังใบสีเขียวเข้ม ท้องใบสีจาง ลักษณะคล้ายใบประดู่ ดอกขนาดเล็ก กลิ่นหอมอ่อน ออกรวมกันเป็นช่อสีขาวหรือเหลืองอ่อนตามง่ามใบและตามปลายกิ่งในช่วงเดือนพฤษภาคม-กรกฎาคมผลเป็นฝักรูปขอบขนานแบบบางตรงบริเวณที่หุ้มเมล็ดเมล็ดรูปไตสีน้ำตาลเข้ม
ไม้พะยูงเป็นไม้ทนแล้ง มีถิ่นกำเนิดในป่าดิบแล้งและป่าเบญจพรรณชื้น กระจายพันธุ์ในป่าภาคกลาง ภาคตะวันออก และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ที่ความสูงจากระดับทะเลปานกลาง 100-250 เมตร นอกจากนี้ ยังมีพบที่ลาวกัมพูชาและเวียดนาม
ไม้พะยูงเป็นไม้เนื้อแข็งเช่นเดียวกับไม้สัก ไม้ตะเคียน ลักษณะเนื้อไม้มีสีน้ำตาลอ่อน แก่นสีแดงอมม่วงถึงสีเลือดหมูแก่ มีริ้วสีดำ เป็นเสี้ยนสน เนื้อละเอียด เหนียว แข็ง ทนทาน และชักเงาได้ดี มีน้ำมันในตัว ใช้ทำเครื่องเรือน เกวียน เครื่องกลึงแกะสลัก หวี ไม้เท้า ด้ามเครื่องมือเครื่องใช้ ทำเครื่องดนตรี เช่น ซอ ขลุ่ย ลูกระนาด ทำเครื่องประดับ เช่น กำไล ทั้งยังใช้เป็นยาสมุนไพร เปลือกต้มเอาน้ำอมรักษาปากเปื่อย ปากแตกระแหง รากใช้กินรักษาแก้ไข้พิษเซื่องซึมยางสดใช้ทาปากรักษาโรคปากเปื่อย
ไม้พะยูงเป็นไม้มงคล ตามชื่อที่พ้องกับพยุง ซึ่งแปลว่าประคองให้อยู่ในสภาพปกติ ช่วยให้ทรงตัวไว้ เชื่อว่าบ้านใดปลูก จะทำให้บุคคลในบ้านมีแต่ความเจริญ ฐานะดีขึ้น ช่วยไม่ให้ชีวิตตกต่ำ เป็นไม้มงคลที่ใช้ในการก่อสร้างอาคารหรือก่อฐานประดิษฐ์ถาวรวัตถุต่างๆและเชื่อว่าควรปลูกในวันเสาร์ทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือ
ในทางวิชาการ กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่าและพันธุ์พืช จัดพะยูงเป็น 1 ใน 9 ของไม้มงคลของไทยที่ประกอบด้วย ราชพฤกษ์ หมายถึงความเป็นใหญ่และมีอำนาจวาสนา, ขนุน หมายถึงหนุนให้ดีขึ้นร่ำรวยขึ้น ทำอะไรจะมีผู้ให้การเกื้อหนุน, ชัยพฤกษ์ หมายถึงมีโชคชัย ชัยชนะ, ทองหลาง หมายถึงมีเงินมีทอง, ไผ่สีสุก หมายถึงมีความสุข, ทรงบาดาล หมายถึงความมั่นคง หรือทำให้มั่นคงแข็งแรง, สัก หมายถึงความมีศักดิ์ศรี มีเกียรติ, กันเกรา หมายถึงป้องกันภัยอันตรายต่างๆ หรืออีกชื่อหนึ่งคือ ตำเสา ซึ่งอาจหมายถึงทำให้เสาเรือนมั่นคง และพะยูงเชื่อว่ามงคลคือพยุงฐานะให้ดีขึ้น
ด้วยความเป็นไม้มงคล ทั้งลวดลายไม้สวยงาม เนื้อแข็งแรง ทนทาน พะยูงเป็นที่ต้องการจำนวนมากของตลาดนอกประเทศ โดยเฉพาะ จีน สิงคโปร์ ไต้หวัน ฮ่องกง นำสู่ปัญหาใหญ่ของประเทศคือการลักลอบตัดไม้พะยูงเพื่อส่งออก ถึงขั้นมีนายทุนจากต่างชาติเข้ามาสร้างเครือข่ายตัดไม้พะยูง ในป่าบริเวณเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าพนมดงรัก จ.สุรินทร์ และอุทยานแห่ชาติ ภูจองนายอย จ.อุบลฯ และเขาพระวิหาร ที่ยังเป็นแหล่งไม้พะยูงที่สมบูรณ์ ที่ผ่านมาถึงแม้เจ้าหน้าที่ได้สนธิกำลังร่วมกับทหาร ตำรวจปราบปรามอย่างเต็มที่ แต่ก็ปรากฏว่ายังคงมีไม้ถูกตัดออกจากป่าจำนวนมากเช่นกัน ทั้งนี้เจ้าหน้าที่สามารถจับกุมและยึดไม้พะยูงของกลางไว้คิดเป็นมูลค่ามากถึง 1.9 หมื่นล้านบาท ณ เวลานี้ในตลาดโลกมีการปั่นราคาไม้พะยูงจนราคาพุ่งสูงมากถึงตับละ 5 หมื่นบาท โดยไม้ 1 ตับ จะมีขนาดหน้าไม้ 20x40 เซนติเมตร ยาว 2 เมตร หรือราคาลูกบาศก์เมตรละ 2.5-3 แสนบาท หรือถ้าคิดเป็นต้นขนาด 1 คนโอบ ก็ราคาตั้งแต่ 3 แสนบาทขึ้นไป การลักลอบตัดไม้พะยูงนั้นจะทำเป็นขบวนการโดยมีทั้งในส่วนของคนไทยเองและชาวกัมพูชา โดยจะมีคนชี้เป้าว่ามีไม้พะยูงขึ้นอยู่จุดใดบ้างซึ่งมักจะเป็นคนพื้นที่ ซึ่งเพียงแค่การชี้เป้านี้ก็จะได้ค่าตอบแทนแล้วต้นละ 5,000 บาทไม้พะยูงนั้นเป็นไม้เนื้อแข็ง ตระกูลเดียวกับไม้แดง ไม้ประดู่ ที่สำคัญในเวลานี้ไม้พะยูงถือว่าเหลือเฉพาะในประเทศไทยเพียงแห่งเดียวในโลก เพราะประเทศลาวที่เคยมีก็หมดไปแล้ว เชื่อกันว่าพระราชวังต้องห้ามของพรางซูสีไทเฮา มีการก่อสร้างด้วยไม้พะยูงทั้งหลัง และประเทศจีนมีการบูรณะใหม่ จึงทำให้ไม้พะยูงเป็นที่ต้องการ และทำให้ไม้พะยูงหมดจากป่าในประเทศลาว จนลุกลามบานปลายมายังประเทศไทยเรา
เป็นไม้ยืนต้นผลัดใบ สูง 15-20 เมตร เปลือกสีเทาเรียบ เรือนยอดทรงกลมหรือรูปไข่ ใบเป็นใบประกอบแบบขนนกสองชั้นเรียงสลับ ปลายใบแหลม โคนใบสอบ หลังใบสีเขียวเข้ม ท้องใบสีจาง ลักษณะคล้ายใบประดู่ ดอกขนาดเล็ก กลิ่นหอมอ่อน ออกรวมกันเป็นช่อสีขาวหรือเหลืองอ่อนตามง่ามใบและตามปลายกิ่งในช่วงเดือนพฤษภาคม-กรกฎาคมผลเป็นฝักรูปขอบขนานแบบบางตรงบริเวณที่หุ้มเมล็ดเมล็ดรูปไตสีน้ำตาลเข้ม
ไม้พะยูงเป็นไม้ทนแล้ง มีถิ่นกำเนิดในป่าดิบแล้งและป่าเบญจพรรณชื้น กระจายพันธุ์ในป่าภาคกลาง ภาคตะวันออก และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ที่ความสูงจากระดับทะเลปานกลาง 100-250 เมตร นอกจากนี้ ยังมีพบที่ลาวกัมพูชาและเวียดนาม
ไม้พะยูงเป็นไม้เนื้อแข็งเช่นเดียวกับไม้สัก ไม้ตะเคียน ลักษณะเนื้อไม้มีสีน้ำตาลอ่อน แก่นสีแดงอมม่วงถึงสีเลือดหมูแก่ มีริ้วสีดำ เป็นเสี้ยนสน เนื้อละเอียด เหนียว แข็ง ทนทาน และชักเงาได้ดี มีน้ำมันในตัว ใช้ทำเครื่องเรือน เกวียน เครื่องกลึงแกะสลัก หวี ไม้เท้า ด้ามเครื่องมือเครื่องใช้ ทำเครื่องดนตรี เช่น ซอ ขลุ่ย ลูกระนาด ทำเครื่องประดับ เช่น กำไล ทั้งยังใช้เป็นยาสมุนไพร เปลือกต้มเอาน้ำอมรักษาปากเปื่อย ปากแตกระแหง รากใช้กินรักษาแก้ไข้พิษเซื่องซึมยางสดใช้ทาปากรักษาโรคปากเปื่อย
ไม้พะยูงเป็นไม้มงคล ตามชื่อที่พ้องกับพยุง ซึ่งแปลว่าประคองให้อยู่ในสภาพปกติ ช่วยให้ทรงตัวไว้ เชื่อว่าบ้านใดปลูก จะทำให้บุคคลในบ้านมีแต่ความเจริญ ฐานะดีขึ้น ช่วยไม่ให้ชีวิตตกต่ำ เป็นไม้มงคลที่ใช้ในการก่อสร้างอาคารหรือก่อฐานประดิษฐ์ถาวรวัตถุต่างๆและเชื่อว่าควรปลูกในวันเสาร์ทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือ
ในทางวิชาการ กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่าและพันธุ์พืช จัดพะยูงเป็น 1 ใน 9 ของไม้มงคลของไทยที่ประกอบด้วย ราชพฤกษ์ หมายถึงความเป็นใหญ่และมีอำนาจวาสนา, ขนุน หมายถึงหนุนให้ดีขึ้นร่ำรวยขึ้น ทำอะไรจะมีผู้ให้การเกื้อหนุน, ชัยพฤกษ์ หมายถึงมีโชคชัย ชัยชนะ, ทองหลาง หมายถึงมีเงินมีทอง, ไผ่สีสุก หมายถึงมีความสุข, ทรงบาดาล หมายถึงความมั่นคง หรือทำให้มั่นคงแข็งแรง, สัก หมายถึงความมีศักดิ์ศรี มีเกียรติ, กันเกรา หมายถึงป้องกันภัยอันตรายต่างๆ หรืออีกชื่อหนึ่งคือ ตำเสา ซึ่งอาจหมายถึงทำให้เสาเรือนมั่นคง และพะยูงเชื่อว่ามงคลคือพยุงฐานะให้ดีขึ้น
ด้วยความเป็นไม้มงคล ทั้งลวดลายไม้สวยงาม เนื้อแข็งแรง ทนทาน พะยูงเป็นที่ต้องการจำนวนมากของตลาดนอกประเทศ โดยเฉพาะ จีน สิงคโปร์ ไต้หวัน ฮ่องกง นำสู่ปัญหาใหญ่ของประเทศคือการลักลอบตัดไม้พะยูงเพื่อส่งออก ถึงขั้นมีนายทุนจากต่างชาติเข้ามาสร้างเครือข่ายตัดไม้พะยูง ในป่าบริเวณเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าพนมดงรัก จ.สุรินทร์ และอุทยานแห่ชาติ ภูจองนายอย จ.อุบลฯ และเขาพระวิหาร ที่ยังเป็นแหล่งไม้พะยูงที่สมบูรณ์ ที่ผ่านมาถึงแม้เจ้าหน้าที่ได้สนธิกำลังร่วมกับทหาร ตำรวจปราบปรามอย่างเต็มที่ แต่ก็ปรากฏว่ายังคงมีไม้ถูกตัดออกจากป่าจำนวนมากเช่นกัน ทั้งนี้เจ้าหน้าที่สามารถจับกุมและยึดไม้พะยูงของกลางไว้คิดเป็นมูลค่ามากถึง 1.9 หมื่นล้านบาท ณ เวลานี้ในตลาดโลกมีการปั่นราคาไม้พะยูงจนราคาพุ่งสูงมากถึงตับละ 5 หมื่นบาท โดยไม้ 1 ตับ จะมีขนาดหน้าไม้ 20x40 เซนติเมตร ยาว 2 เมตร หรือราคาลูกบาศก์เมตรละ 2.5-3 แสนบาท หรือถ้าคิดเป็นต้นขนาด 1 คนโอบ ก็ราคาตั้งแต่ 3 แสนบาทขึ้นไป การลักลอบตัดไม้พะยูงนั้นจะทำเป็นขบวนการโดยมีทั้งในส่วนของคนไทยเองและชาวกัมพูชา โดยจะมีคนชี้เป้าว่ามีไม้พะยูงขึ้นอยู่จุดใดบ้างซึ่งมักจะเป็นคนพื้นที่ ซึ่งเพียงแค่การชี้เป้านี้ก็จะได้ค่าตอบแทนแล้วต้นละ 5,000 บาทไม้พะยูงนั้นเป็นไม้เนื้อแข็ง ตระกูลเดียวกับไม้แดง ไม้ประดู่ ที่สำคัญในเวลานี้ไม้พะยูงถือว่าเหลือเฉพาะในประเทศไทยเพียงแห่งเดียวในโลก เพราะประเทศลาวที่เคยมีก็หมดไปแล้ว เชื่อกันว่าพระราชวังต้องห้ามของพรางซูสีไทเฮา มีการก่อสร้างด้วยไม้พะยูงทั้งหลัง และประเทศจีนมีการบูรณะใหม่ จึงทำให้ไม้พะยูงเป็นที่ต้องการ และทำให้ไม้พะยูงหมดจากป่าในประเทศลาว จนลุกลามบานปลายมายังประเทศไทยเรา
จากการที่ชุดทำงานของพวกเราได้เข้าไปทำงานที่จังหวัดอุบลราชธานีและศรีสะเกษยังมีร่องรอยการตัดไม้พะยูงใหม่ๆซึ่งจะเห็นได้ว่ายังมีพวกมอดไม้ที่คอยทำลายไม้พะยูงเพื่อผลประโยชน์ส่วนตนอยู่เป็นจำนวนมาก
ชาวบ้านในพื้นที่เองที่คอยเป็นคนชี้เป้า คอยดูต้นทาง ให้มอดไม้
นายทุนเข้ามาแสวงหาผลประโยชน์ ช่วยกันเถอะครับ เพื่อป่าอันอุดม เพื่อลูกหลาน
เพื่อแหล่งน้ำแหล่งอาหารของพวกเราน่าสงสารไม้พะยูง เพราะชื่อ
และความงามของตนแท้ๆทำให้กลายเป็นตัวทำลายล้างตัวเอง...
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น